บทบาทหน้าที่ของงานกองทุนฯ

งานกองทุนฯ เป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักอธิการบดี มีบทบาทในการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับนักศึกษา เป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นด้านการบริการ และจัดสรรเงินกองทุนที่ได้รับจัดสรรจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนในระดับปริญญาตรีได้ศึกษาเล่าเรียนตามที่ได้ตั้งใจไว้ มีความภาคภูมิใจในตัวเอง สร้างรอยยิ้มให้กับครอบครัว มีจิตสำนึกในการส่งต่อโอกาสไปยังรุ่นน้องๆ ด้วยการชำระเงินกู้ยืม และร่วมกันสร้างจิตอาสาเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

ภาระหน้าที่ของงานกองทุน

          ๑.  งานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ. และ กรอ.)

          ๒.  งานเก็บรวบรวมข้อมูลระเบียนประวัตินักศึกษากองทุนฯ

          ๓.  งานสารบรรณ

          ๔.  โครงการบริจาคโลหิตเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์

๑.  งานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ. และ กรอ.) เป็นภาระงานหลักที่ต้องดำเนินการและให้บริการแก่นักศึกษากู้ต่อเนื่องและกู้รายใหม่ในสถาบันและนักศึกษาใหม่ทั้งกู้รายใหม่และกู้ต่อเนื่อง โดยการดำเนินการผ่านระบบ e-Studentloan และต้องดำเนินการให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กองทุนกำหนด โดยมีขั้นตอนที่สถานศึกษาต้องดำเนินการดังนี้

·          สถานศึกษาตรวจสอบคุณสมบัติ

·          สถานศึกษาบันทึกกรอบวงเงินกู้ทั้งปี

·          สถานศึกษาประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิกู้ยืม

·          สถานศึกษาตรวจสอบความถูกต้องของสัญญา

·          สถานศึกษายืนยันข้อมูลค่าเล่าเรียนฯ พร้อมพิมพ์แบบลงทะเบียนให้ผู้กู้ยืมลงนาม

·          สถานศึกษาตรวจสอบและยืนยันข้อมูลแบบลงทะเบียน

·          สถานศึกษานำส่งสัญญาและแบบลงทะเบียนให้ธนาคาร

การบันทึกข้อมูลผู้กู้ยืมในระบบส่วนกลางของวิทยาลัย :

·      เพื่อให้ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา

ส่วนงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทาง กยศ.

๑.  ประชุมและชี้แจงนักศึกษากองทุนฯ ในส่วนของคุณสมบัติผู้กู้ยืม หลักเกณฑ์ ขั้นตอนการกู้ยืมเงินกองทุนฯ เงื่อนไขการขอกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป

๒.  ชี้แจงรายละเอียดเอกสาร แบบรักษาสถานภาพการศึกษา (กยศ.204) การระงับเหตุแห่งหนี้ (ตาย, ทุพพลภาพ) การแจ้งขอยกเลิกสัญญากู้ยืมเงินกองทุนฯ  การปลูกจิตสำนึกให้ชำระเงินคืนกองทุนฯ เมื่อจบการศึกษาหรือพ้นสภาพ แบบรายงานข้อมูลของผู้กู้ยืม (กยศ.108) พร้อมทั้งข่าวสารของ กยศ. ให้นักศึกษาทราบทุกภาคการศึกษา

         ๓.  ประชุมนักศึกษากองทุนฯ ที่ขอกู้ยืมเกินหลักสูตร สัมภาษณ์ คัดเลือกนักศึกษากลุ่มนี้ตามคุณสมบัติที่ทาง กยศ. และ สกอ. กำหนด พร้อมทำเอกสารแจ้งเรื่องการขอกู้ยืมเกินหลักสูตรและเอกสารประกอบ

๔.  จัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกร่วมกับทางวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษากองทุนฯ  ได้ตระหนักและรู้คุณค่าของการ

กู้ยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษา

๕.  ส่งเสริมให้นักศึกษากองทุนฯ  ได้ทำกิจกรรมเป็นสาธารณประโยชน์ร่วมกับชุมชน

๖.  รายงานแบบรายงานผลการศึกษา (กยศ.110) นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา

๗.  รายงานแบบรายงานการพ้นสภาพ (กยศ.109) ที่พ้นสภาพ เช่น ลาออก เสียชีวิต พ้นสภาพ

๘.  ตรวจสอบสถานะการชำระหนี้คืนของผู้กู้ยืมที่จบการศึกษา ลาออก พ้นสภาพ ในส่วนของ บมจ.

ธนาคารกรุงไทย และหรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยอ้างอิงรายชื่อผู้กู้ยืมที่ทางงานกองทุนฯ ได้จัดส่ง

เอกสารบัญชีข้อมูลผู้กู้ยืมและเอกสารข่าวสารจาก กยศ. โครงการลดหนี้ต่างๆ

          ๙.  ยืนยันการพ้นสภาพการเป็นนักเรียน/นักศึกษา (ข้อมูลรายชื่อผู้กู้ยืมจากทาง กยศ.)

๑๐. ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษากองทุนฯ ในเรื่องเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษา เรื่องอื่นๆ ที่

เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน

ระบบงาน e-Audit (การส่งข้อมูลและการคืนเงินคงค้าง) :

          คือการส่งข้อมูลการกู้ยืมเงินของผู้กู้ยืมที่ใช้สำหรับค่าเล่าเรียน ค่าเกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และการส่งเงินคืนในกรณีที่ผู้กู้ยืมยกเลิกการกู้ยืม (กรณีที่โอนเงินแล้ว) ผ่านระบบงาน e-Audit

๒. งานเก็บรวบรวมข้อมูลระเบียนประวัตินักศึกษากองทุน  งานกองทุนฯ มีหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของนักศึกษาที่เป็นนักศึกษากองทุนฯ ทุกคน ทั้งในรูปแบบของเอกสาร เช่น เอกสารเบบคำขอกู้ยืมเงิน เอกสารสัญญาและแบบยืนยันรับค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ค่าครองชีพพร้อมทั้งเอกสารประกอบของผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน ใบลงทะเบียนเรียน ใบเสร็จรับเงิน ในแต่ละภาคการศึกษา เป็นรายบุคคล และในรูปแบบโปรแกรมสารสนเทศของวิทยาลัย  และเมื่อผู้กู้ยืมจบการศึกษา ลาออก พ้นสภาพ จะต้องเก็บซองประวัติการกู้ยืมของผู้กู้ยืมไว้เป็นหลักฐาน ตามที่ กยศ. กำหนดเพื่อรองรับการตรวจสอบจากหน่วยงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

๓.  งานสารบรรณ  เป็นงานธุรการที่งานกองทุนฯ ต้องดำเนินการให้เป็นระบบซึ่งมีงานหลักคือ การรับหนังสือเข้า การส่งหนังสือออกภายนอก  การทำบันทึกภายใน การเสนอโครงการ รายละเอียดโครงการ การรายงานผลโครงการ ต่างๆ ของหน่วยงาน การสรุปรายงานรายชื่อนักศึกษาที่ชำระค่ากิจกรรมเสริมหลักสูตรทั้งนักศึกษาเงินสด และนักศึกษาเงินกู้เพื่อทำการสอบโปรแกรม MOS การจัดทำแผนงบประมาณประจำปีการศึกษา การจัดส่งข้อความ (SMS) ให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี ป.บัณฑิต การเบิกพัสดุ การทำสั้นแฟ้ม การจัดทำใบขอซื้อ/ใบสั่งทำ การจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ข่าวสารความเคลื่อนไหวของทาง กยศ. ให้นักศึกษาทราบเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง  การประสานงานทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกวิทยาลัยรวมถึงการจัดพิมพ์เอกสารต่างๆ การจัดเก็บรายชื่อผู้กู้ยืมที่เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมประชุม ตามที่ทางงานกองทุนฯ กำหนด

๔.  โครงการร่วมบริจาคโลหิตเพื่อเพื่อนมนุษย์

๔.๑  แจ้งความประสงค์การบริจาคโลหิตต่อสภากาชาดอำเภอทุ่งสง

๔.๒  กำหนดวันบริจาคโลหิตและจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การรับบริจาคโลหิตให้แก่หน่วยงานภายใน

       นักศึกษา และชุมชนใกล้เคียง

๔.๓  จัดสถานที่ในการรับบริจาคโลหิตและช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่มารับบริจาคโลหิต